Before & After
บริการทันตกรรมบูรณะ/อุดฟัน
(Restoratives)
ทำไมถึงต้องอุดฟัน !
บริการทันตกรรมบูรณะ / อุดฟัน คืออะไร ?
การอุดฟัน (tooth filling) คือ การรักษาอาการของฟันผุกร่อน ที่เห็นเป็นรูชัดเจน ฟันแตก ฟันบิ่น ซึ่งอยู่ในระยะที่มีการทำลายเฉพาะถึงส่วนเนื้อฟัน ซึ่งเกิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกันทั้งการใช้ฟันขบเคี้ยวของที่แข็งด้วยความแรงที่มากไป
การผุกร่อนจากแบคทีเรียที่กลายเป็นกรด หรือสาเหตุอื่น ๆ โดยอาการเหล่านี้จะนำมาซึ่งปัญหาของการใช้ฟันเคี้ยวอาหาร และจะมีผลทำให้เกิดการลุกลามเสียหายของฟันมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการแก้ไขจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยการอุดฟันนั้นจะทำให้ฟันกลับมาสมบูรณ์และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนอุดฟัน !?!
- นัดหมายเพื่อปรึกษาทันตแพทย์ เเละตรวจสุขภาพเหงือกและฟันก่อน คนไข้ควรเเจ้งคุณหมอด้วยหากมีโรคประจำตัวหรือมียาที่รับประทานอยู่
- ทำความสะอาดช่องปาก แปรงฟันบ้วนปากให้เรียบร้อย
- นำฟันปลอมแบบถอดได้หรือรีเทนเนอร์มมาด้วย(ถ้ามี)
- กรณีที่คนไข้ฟันผุ ฟันซี่ที่ผุจะต้องไม่ลุกลามไปจนถึงโพรงประสาทฟันและต้องมีเนื้อฟันเหลือพอให้วัสดุที่ใช้อุดฟันยึดเกาะได้ สุขภาพเหงือกเป็นปกติ บางกรณีทันตแพทย์อาจจะแนะนำให้คนไข้ขูดหินปูนก่อนอุดฟัน
ขั้นตอนการอุดฟัน
- ทันตแพทย์รตรวจสุขภาพฟัน เช็คสภาพฟันผุ ประเมินการรักษาว่าการอุดฟันเพื่อแก้ไขได้หรือไม่
- ทันตแพทย์จะกรอเนื้อฟันที่ผุมีการติดเชื้อออก ลักษณะจะเป็นเนื้อฟันที่นิ่ม ยุ่ย สีของเนื้อฟันนั้นอาจมีการเปลี่ยนสี ในขั้นตอนนี้ทันตแพทย์จะฉีดยาชาก่อน เพื่อป้องกันอาการปวดหรือเสียวฟัน ถ้าคนไข้มีฟันผุลึกจนเกือบถึงโพรงประสาทฟัน
- หลังจากการกรอเนื้อฟันผุออกแล้ว ถ้าฟันผุลึกเข้าไปชั้นในของเนื้อฟัน ทันตแพทย์จะใส่วัสดุรองพื้น ช่วยลดการเสียวฟัน
- ทันตแพทย์ทำการอุดฟันด้วยวัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน
– ถ้าเป็นการอุดฟันแบบโลหะ
– ถ้าเป็นการอุดฟันสีเหมือนฟัน จะมีการฉายแสงเพิ่มเข้ามาช่วยในการอุดฟันต่อไป ซึ่งอาจจะใช้เวลามากหรือน้อยแตกต่างกันตามสภาพฟันของผู้ป่วย
อุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม (Amalgam)
อมัลกัมได้จากการผสมกันระหว่างปรอท เงิน ดีบุกหรือโลหะอื่นๆ เป็นวัสดุอุดฟันให้สีโลหะ สมัยก่อนนิยมใช้ในการอุดฟันหลัง เช่น ฟันกราม เเละฟันกรามน้อย เพราะ มีจุดเด่นที่ความเเข็งเเรง ทนต่อเเรงบดเคี้ยวได้ดี ใช้งานได้นานถึง 10-15 ปี
อุดฟันด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิต (Composite Resin)
วัสดุอุดฟันทำจากเรซินคอม โพสิต ให้สีเหมือนฟันธรรมชาติ จึงนิยมใช้อุดบริเวณฟันหน้าเพื่อความสวยงาม ภายหลังมีการพัฒนาให้เรซินคอมโพสิตความเเข็งเเรงขึ้น จึงใช้อุดฟันหลังได้ด้วย
กลาสไอโอโนเมอร์ (Glass ionomer Cement)
นิยมใช้อุดฟันสำหรับเด็กเล็ก เเละผู้มีความเสี่ยงต่อฟันผุ เพราะกลาสไอโอโนเมอร์สามารถปล่อยฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุได้ นอกจากนี้ยังมีวัสดุอุดฟันชนิดอื่นๆ เช่น ทอง พอร์ซเลน