จัดฟันที่ไหนดี จัดฟันเด็กผู้ปกครองต้องเตรียมตัวอย่างไร ปัญหาใดบ้างที่เด็กควรจัดฟัน ?
Case Review
Before & After

สำหรับผู้ปกครองท่านใดที่พบว่าลูกน้อยของคุณมีปัญหาสุขภาพในช่องปาก เพื่อช่วยในการตัดสินใจของคุณพ่อและคุณแม่ว่าควรที่จะจัดฟันลูกตอนช่วงอายุเท่าไหร่ดี ? จัดฟันที่ไหนดี ? หลังการจัดฟันจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของฟันลูกในระยะยาวหรือไม่ ? ควรจะพาลูกไปจัดฟันที่ไหน ? บทความนี้ Double Smile Dental Clinic มีคำตอบ!
การจัดฟันเด็กคืออะไร ?

การจัดฟันเด็กหรือทันตกรรมสำหรับเด็ก (PEDODONTICS) คือ ทันตกรรมสาขาหนึ่งซึ่งให้คำปรึกษา ดูแลรักษา ป้องกันปัญหา สุขภาพช่องปากและฟันแก่เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 12 ปี ได้แก่ การ X-ray ตรวจสุขภาพฟัน , การขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์ , การอุดฟัน , การรักษาโพรงประสาทฟัน , การเคลือบหลุมร่องฟันป้องกันฟันผุ , การครอบฟัน กรณีที่มีฟันผุ ลุกลามมาก , การถอนฟัน , การใส่เครื่องมือกันฟันล้มหรือเครื่องมือขยาย ช่องว่างสำหรับฟันแท้ เพื่อการแก้ไขในด้านการบดเคี้ยว การออกเสียง และพัฒนาความสวยงามให้เด็ก ๆ มีความมั่นใจในทุกรอยยิ้ม
การจัดฟันสำหรับเด็ก หากลูกของคุณได้รับการรักษาจัดฟันตั้งแต่ฟันน้ำนม ไม่ได้หมายความว่ากระบวนการจัดฟันเสร็จสิ้นแล้ว การรักษาในช่วงที่เด็กมีฟันน้ำนมระยะแรกนั้น ไม่ได้ช่วยปรับปรุงลักษณะโครงหน้า แต่เพื่อสร้างสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีต่อสุขภาพฟันแท้ของเด็กที่กำลังเจริญเติบโตขึ้น โดยฟันน้ำนมอาจถูกจัดตำแหน่งใหม่เพื่อเป็นการวางพื้นที่สำหรับฟันแท้ที่จะขึ้นต่อมา ส่วนใหญ่แล้วจะมีการวางแผนการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันระยะที่สองต่อมา เมื่อฟันแท้ของเด็กขึ้นสมบูรณ์แล้วในช่วงวัยรุ่น
เด็ก ๆ จำเป็นต้องจัดฟันหรือไม่ ?
การจัดฟันเด็กบางกรณีนั้นไม่จำเป็น แต่ในบางกรณีก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการรักษาตั้งแต่ยังเด็ก โดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาทั้ง 2 กรณีดังนี้
– การจัดฟันเพื่อป้องกัน หรือลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างเช่น กรณีของเด็กที่มีฟันหน้าบนยื่นมาก เมื่อเด็กล้มหรือกระแทกสิ่งต่าง ๆ มีโอกาสทำให้ฟันหน้าแตกหักหรือเป็นอันตรายมากขึ้น
– กรณีที่เด็กคิดว่าอยากจะจัดฟัน เนื่องจากอาจจะโดนเพื่อนล้อหรือว่ารู้สึกเองว่าต้องจัดฟัน ซึ่งกรณีนี้อาจไม่ได้มีความจำเป็นในทางการแพทย์มากเท่ากับการสร้างรากฐานความมั่นใจที่จะส่งผลต่อบุคลิกของเด็ก ๆ ภายในอนาคต
– การจัดฟันเพื่อลดความรุนแรงของปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น กรณีของเด็กที่มีฟันสบคร่อมผิดปกติเด็กอาจมีการเยื้องขากรรไกรเพื่อไม่ให้ฟันชนกัน รวมไปถึงเพื่อการบดเคี้ยวที่สะดวก ซึ่งมีผลให้ขากรรไกรยื่นออกมาผิดรูปหรือหน้าเบี้ยวได้
การจัดฟันเด็ก ทำได้ตั้งแต่อายุเท่าไร?

การจัดฟันเด็ก หรือ Interceptive treatment ในบางครั้งจะเรียกว่า Phase 1 Orthodontics (การจัดฟันในระยะที่ 1) สามารถเริ่มจัดได้ตั้งแต่อายุ 4-5 ขวบในชุดฟันน้ำนม หรือจัดตอนอายุ 7-8 ขวบในชุดฟันผสม
การจัดฟันแบบดามอน คือระบบการจัดฟันแบบใหม่ ที่ไม่ต้องใช้ยางรัดเพื่อยึดติดลวดกับเหล็กจัดฟัน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 แบบตามลักษณะของ Bracket ที่ต่างกัน คือ จัดฟันดามอนคิว Damon Q (Metal Self-ligating) ที่มีอุปกรณ์จัดฟันหรือ Bracket จะเป็นสีโลหะ และจัดฟันดามอนเคลียร์ Damon Clear (Clear Self-ligating) ที่อุปกรณ์จัดฟันจะมีสีขาวขุ่น หรือสีใส ใกล้เคียงกับสีฟัน การจัดฟันแบบดามอนจะถอดเครื่องมือได้เร็วกว่าแบบโลหะกับเซรามิก
เรื่องที่ควรรู้ ก่อนจัดฟันสำหรับเด็ก

ในการจัดฟันเด็กนั้น ผู้ปกครองจำเป็นที่จะต้องศึกษาเกี่ยวกับวิธีการจัดฟัน อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดฟันข้อควรรู้อื่น ๆ เช่น การดูแลช่วงก่อนจัดฟัน ระหว่างจัดฟัน และหลังจัดฟัน นอกจากนี้การเลือกคลินิกทันตกรรมที่สามารถจัดฟันเด็กได้โดยมีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือเฉพาะทางในการจัดฟันเด็ก ทำให้การจัดฟันนั้นมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
น้อง ๆ หนู ๆ คนไหนบ้าง ? ที่ควรมาพบทันตแพทย์

เมื่อผู้ปกครองพบปัญหาหรือความสงสัยในการเรียงตัวของฟันรวมถึงโครงสร้างกระดูกขากรรไกรของเด็ก ๆ ควรได้รับการตรวจประเมินความจำเป็นในการจัดฟัน แต่ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะต้องได้รับการรักษาด้วยการจัดฟันตั้งแต่เด็ก ปัญหาบางอย่างหากได้รับการแก้ไขตั้งแต่วัยเด็ก จะได้ผลการรักษาที่ดีกว่าการรอจนเข้าสู่วัยรุ่นแล้วค่อยรักษา ในขณะเดียวกันบางปัญหาที่พบในวัยเด็กอาจจะค่อย ๆ ดีขึ้นได้เองเมื่อเด็กเจริญเติบโตขึ้น ซึ่งคุณหมอจะแนะนำให้พิจารณาจากความจำเป็นในการรักษา หากเด็ก ๆ มีอาการเหล่านี้
1.ฟันสบ ปัญหาฟันสบนั้นมีหลายแบบดังนี้
– ฟันสบลึก (Deep Bite) ทำให้ฟันหน้าบนคร่อมปิดฟันหน้าล่างมากกว่าปกติ ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดฟันสึก เสียวฟัน หรือถ้าโตขึ้นไปแล้วไม่ได้ทำการรักษาก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายให้กับเหงือกและรากฟันหน้าได้
– ฟันสบเปิด (OPEN BITE) ลักษณะที่ฟันหน้าบนและล่างเปิดห่างจากกันขณะสบฟัน
– ฟันสบคร่อม (ฟันหน้า) CROSSBITE ( FRONT TEETH ) ลักษณะของฟันหน้าด้านล่างเกยฟันบนออกมา และยื่นไปด้านหน้า
– ฟันสบคร่อม (ฟันหลัง) CROSSBITE ( BACK TEETH ) ลักษณะของฟันหลังที่มีการสบคร่อมร่วมกับความผิดปกติของขากรรไกร โดยอาจเกิดบริเวณฟันเขี้ยว
2.ฟันหรือลักษณะขากรรไกรมีความผิดปกติ (Temporomandibular disorders)
อาจทำให้มีปัญหาขากรรไกรค้าง หรืออ้าปากแล้วเบี้ยว ไปจนถึงมีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหารได้
3.ฟันเกิน (ABNORMAL ERUPTION)
ซึ่งฟันเกินอาจจะงอกขึ้นมาหรือฝังอยู่ในขากรรไกร สามารถพบได้ทั้งในฟันน้ำนมและฟันแท้ โดยเห็นได้ในช่องปากหรือตรวจพบในภาพถ่ายรังสี มีผลทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ฟันงอกผิดตำแหน่งหรือขวางฟันซี่อื่น เป็นต้น
4.ฟันซ้อน ฟันเก (Crowding)
เป็นลักษณะของฟันที่มีการขึ้นหรือวางตัวที่ผิดปกติ ไม่เรียงตัวตามแนวโค้งของขากรรไกร เช่น ฟันขึ้นบิดเบี้ยวผิดรูป , เรียงตัวซ้อนกันกับฟันซี่อื่น เป็นต้น
5. ฟันเหยิน/ยื่น (OVERJET)
ลักษณะที่ฟันหน้าด้านบนยื่นออกจากปากหรือครอบปิดฟันหน้าด้านล่าง
6. ฟันห่าง (EXCESSIVE SPACING)
ลักษณะที่ฟันหน้าด้านบนยื่นออกจากปากหรือครอบปิดฟันหน้าด้านล่าง
7. ฟันล่างคร่อมฟันบน (Anterior crossbite)
ลักษณะที่ฟันหน้าด้านบนยื่นออกจากปากหรือครอบปิดฟันหน้าด้านล่าง
อาการที่สังเกตได้ชัดว่าลูกของคุณควรได้รับการดูแลจากหมอฟันมีดังนี้

– ไม่สามารถปิดปากได้ตลอดเวลา
– ฟันน้ำนมมีการหลุดที่เร็วหรือช้าแบบผิดปกติ
– การกัดเพดานปากหรือกระพุ้งแก้มบ่อยครั้ง
– กรณีที่มีเสียงของขากรรไกรหรือมีการเลื่อนของขากรรไกร
– มีความลำบากในการกัดหรือบดเคี้ยว
– การหายใจทางปาก
คำแนะนำสำหรับการจัดฟันเด็กครั้งแรก

หากคุณพ่อ คุณแม่หรือผู้ปกครองท่านใดกำลังเป็นกังวลว่าครั้งแรกที่ลูกของคุณจะต้องไปพบทันตแพทย์ควรจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เช่น ในเรื่องของสถานที่ หรือวิธีการการเข้ารับการรักษาครั้งแรก คุณหมอมีคำตอบเพื่อให้ผู้ปกครองสามารถเข้าร่วมและดูแลเด็ก ๆ ระหว่างเข้ารับการรักษาภายในห้องตรวจได้อย่างถูกวิธี
– ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการจัดฟันจะสอบถาม และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความกังวลของคุณพ่อ คุณแม่หรือผู้ปกครอง
– ทันตแพทย์จะทำการตรวจฟัน ดูสุขภาพอนามัย และความผิดปกติในช่องปากของเด็ก โดยอาจให้ลูกของคุณทดสอบการกัด เพื่อสังเกตว่าฟันด้านบนและฟันด้านล่างมีการสบฟันกันหรือไม่ รวมถึงดูตำแหน่งฟันของขากรรไกรบนและล่างด้วย
– หลังจากนั้นทันตแพทย์อาจจะต้องให้ลูกของคุณถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ เพื่อวินิจฉัยปัญหาการจัดฟันของเด็ก หรือหากมีภาพถ่ายเอกซ์เรย์ฟันก่อนหน้านี้ภายใน 6 เดือนก็สามารถนำภาพเหล่านั้นมาให้ทันตแพทย์จัดฟันได้
– ต่อมาทันตแพทย์จัดฟันจะอธิบายว่าควรจะเริ่มการรักษาเมื่อใด รวมถึงการแนะนำประเภทของการรักษาต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับเด็ก
– ข้อสุดท้ายการนัดหมายติดตามผล หากตรวจไม่พบปัญหาอาจมีการทำนัดเป็นครั้งคราวเพื่อติดตามให้แน่ใจว่าฟันแท้ของเด็กเจริญเติบโตตามระยะเวลา และลำดับที่ถูกต้องสมวัยหรือไม่
ขั้นตอนการติดตั้งเครื่องมือจัดฟัน ที่ผู้ปกครองควรรู้
– กรณีจัดฟันแบบใส
1. ทำการทดสอบการกลืน ประเมินช่องปาก ไปจนถึงเคลียร์ช่องปากแล้ว และทันตแพทย์จะทำการสแกนฟัน 3 มิติด้วยเครื่องสแกนชนิด iTero
2. จากนั้นจะทำการวางแผนการเคลื่อนฟันผ่าน ClinCheck
3. เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีการนัดผู้ปกครองมาดู ClinCheck เพื่อดูการเคลื่อนของฟัน และให้ผู้ปกครองทราบถึงจำนวนชิ้นเครื่องมือ และรูปฟันเมื่อจัดเสร็จ
4. ผลิตเครื่องมือเพื่อทำการจัดฟันให้กับคนไข้
– กรณีจัดฟันแบบโลหะ
1. ทันตแพทย์จะนัดหมายผู้ปกครอง เพื่อติดตั้งเครื่องมือจัดฟันให้กับเด็ก
2. ทันตแพทย์จะทำการขัดทำความสะอาดฟัน และทำการเป่าฟันให้แห้งหลังจากขัดเสร็จแล้ว
3. ทันตแพทย์จะทำการทากรดกัดฟัน หลังจากนั้นทำการล้างออก
4. ต่อไปทันตแพทย์จะทากาวสำหรับยึดตัวแบร็คเก็ต แล้วทำการติดแบร็คเก็ตลงไป
5. หลังจากนั้นทันตแพทย์จะทำการฉายแสงเพื่อให้กาวกับแบร็คเก็ตติดกัน
6. สุดท้ายทันตแพทย์จะทำการใส่ลวดและยางโอริง ส่วนในบางเคสอาจจะมีการติดตั้งเครื่องมือพิเศษอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนและแผนในการรักษา
หลังการจัดฟันคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองควรดูแลรักษาฟันเด็กอย่างไร ?

ผู้ปกครองที่ให้เด็กจัดฟัน ควรช่วย ดูแลการทำความสะอาดฟันของเด็ก ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ เช่น การแปรงฟันให้สะอาด การบ้วนปากด้วยฟลูออไรด์ก่อนนอน การใช้ไหมขัดฟัน กำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันได้อย่างทั่วถึง ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ นั้นมีดังนี้
– ควรแนะนำให้เด็กใช้แปรงฟันหรือไหมขัดฟันเพื่อทำความสะอาดซอกฟันให้สะอาด
– ช่วงจัดฟันควรงดอาหารที่มีความแข็ง และเคี้ยวยาก เพราะอาจกระทบกับเครื่องมือที่ใช้ในการจัดฟันได้ เช่น ทำให้ลวดหลุด เป็นต้น
– เลือกใช้แปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันโดยเฉพาะ รวมถึงทำการแปรงฟันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือแปรงทุกครั้งหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 30 นาที
– ทำการตรวจสุขภาพภายในช่องปากทุกๆ 6 เดือน เพื่อดูแลเรื่องหินปูนหรือฟันผุ
– พบทันตแพทย์ตามที่นัดหมายทุกครั้ง และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
เรื่องเข้าใจผิดของการจัดฟันเด็ก

– ฟันน้ำนมไม่สำคัญรอฟันแท้ขึ้นมาก่อนก็ได้ เป็นความเข้าใจที่ผิดเนื่องจากฟันน้ำนมมีผลต่อลักษณะการขึ้นของฟันแท้เป็นอย่างมาก หากเด็กสูญเสียฝันน้ำนมก่อนวัยอันควร อาจทำให้ฟันแท้ขึ้นผิดที่ผิดทางได้ ทำให้การรักษาในอนาคตมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
– ค่อยจัดฟันทีเดียวรอให้ฟันแท้ขึ้นครบก่อน อันนี้ก็เป็นการเข้าใจผิดเพราะโดยทั่วไปแล้วสามารถรอจนฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่ได้ แต่ในกรณีที่เด็กมีฟันสบคร่อมผิดปกติ อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกร และทำให้ใบหน้าบิดเบี้ยวได้
ควรจัดฟันเด็กที่ไหนดี ?

จะจัดฟันเด็กกับคลินิกที่ไหนดี ก็ควรที่จะมีเกณฑ์การตัดสินใจและการพิจารณาที่เหมาะสม โดย Double Smile Dental Clinic รวบรวมมาให้แล้ว ดังนี้
– การเลือกคลินิกจัดฟันหรือคลินิกทันตกรรมที่เป็นมาตรฐานนั้น จะต้องมีการขึ้นทะเบียนกระทรวงอย่างถูกต้อง มีเลขที่ใบอนุญาตประกอบกิจการ 11 หลัก ถึงจะเป็นคลินิกที่มีความน่าเชื่อถือ และทางคลินิกจะต้องมีการแจ้งค่าใช้จ่ายอย่างเปิดเผย และถูกต้องตามค่าใช้จ่ายจริงที่ผู้ป่วยเข้ารับบริการ
– คลินิกจะต้องมีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และมีความน่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบทันตแพทย์เฉพาะทางได้ที่ลิงก์นี้เลยครับ https://thaiortho.org/certified-orthodontist หรือ https://www.royalthaident.org/specialist/?specialty_id=4
– ความสะอาดภายในคลินิกเป็นสิ่งสำคัญ จะต้องไม่มีกลิ่นอับและกลิ่นไม่พึงประสงค์
– เพื่อคุณภาพและประสิทธิภาพในการรักษาดูแลคนไข้ จะต้องมีเครื่องมือที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล และอุปกรณ์เทคโนโลยีทันสมัยที่ได้รับการรับรองของมาตรฐานสากล โดยที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนั้น คลินิกของเรามีครบ! ด้วยทันตเเพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ วัสดุอุปกรณ์ที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี ได้รับการรับรองของมาตรฐานสากล ทำให้เราพร้อมที่จะดูแลสุขภาพช่องปากของคุณ เพราะรอยยิ้มที่สวยงามคืองานของเรา Double Smile Dental Clinic