Work Hours : เปิดบริการทุกวัน : 10:00 - 20:00 น.

Double Smile Dental Clinic

Blogจัดฟันที่ไหนดี ร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

จัดฟันที่ไหนดี ร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

Before & After

จัดฟันที่ไหนดี ? จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดคืออะไร บทความนี้มีคำตอบ !!

จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร หมายถึงการผ่าตัดขากรรไกรเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกราม และแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกร หรือความผิดปกติของโครงกระดูก การผ่าตัดขากรรไกรเป็นการรักษาที่สำคัญที่ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าและวางแผนร่วมกันในทีมศัลยกรรมและทันตแพทย์จัดฟัน

 

จัดฟันผ่าขากรรไกร เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยที่ประสบปัญหาเรื่องของการสบฟัน ปัญหา คางยื่น หน้าเบี้ยว คางเบี้ยว ฟันบนคร่อมฟันล่าง หรือ ฟันล่างยื่นคร่อมฟันบน เป็นปัญหาหนักใจ ทั้งในเรื่อง ของความสวยความงาม และปัญหาเรื่องการใช้งาน ทั้งการออกเสียง การขบกัดและการบดเคี้ยวอาหารอีกทั้งยังกลายเป็นปมด้อยที่มักถูกล้อเลียน สร้างความทุกข์ใจ ซึ่งสามารถดูแลแก้ไขได้ จากทีมทันตแพทย์สาขาศัลยศาสตร์ช่องปาก และ แม็กซิลโลเฟเชียล ที่เชี่ยวชาญด้าน ผ่าตัดขากรรไกร ร่วมกับคุณหมอจัดฟันเฉพาะทางที่มีประสบการณ์ทำเคสแบบนี้โดยเฉพาะ

ใครเหมาะที่จะต้องจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ?


– ผู้ที่มีปัญหาที่ต้องการแก้ไข และปรับปรุงโครงหน้าที่ผิดปกติ แก้ปัญหาการสบฟันให้มีความถูกต้องเหมาะสม เพื่อการเคี้ยวให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

– ผู้ที่จัดฟันทั้งก่อนผ่าตัด หรือหลังการผ่าตัดขากรรไกร สามารถช่วยแก้ไขความผิดปกติของตำแหน่งของฟันบน ขากรรไกรได้ ทั้งตำแหน่งการเรียงตัวฟันหน้า ฟันหลัง การสบฟันให้เหมาะสม

– ผู้ที่ต้องการปรับรูปหน้า แก้ปัญหาใบหน้าให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น

– ป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ (TMJ) – ผู้ที่ริมฝีปากไม่สามารถหุบสนิทได้

ก่อนที่จะไปจัดฟันผ่าขากรรไกร เรามาทำความเข้าใจกับเครื่องมือจัดฟันก่อนดีกว่าว่ามีอะไรกันบ้าง

เครื่องมือจัดฟันมีอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีหน้าที่ช่วยรักษาฟันเรายังไง ไม่ว่าจะ ฟันเก ฟันซ้อน ฟันเหยิน แค่ไหนการจัดฟันก็สามารถช่วยได้ และ ฟันสวย ๆ นั้นก็ส่งผลต่อบุคลิกของเราไม่น้อยเหมือนกัน ไม่ว่าใครก็ตามคงปฏิเสธไม่ได้ว่าอยากที่จะดูดี และมั่นใจกันทั้งนั้น ทั้งเรื่องใบหน้ารวมไปถึงรอยยิ้ม ใครที่กำลังเตรียมตัวจะไปจัดฟันควรรู้ ว่าเรากำลังจะไปเจอกับเครื่องมืออะไรบ้าง คุณหมอจึงเอาข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้จัดฟันมาบอกว่ามีอะไรบ้าง สามารถช่วยเรื่องอะไรและมีลวดจัดฟันกี่แบบ ดังนี้

การจัดฟันแบบติดเครื่องนั้นมี 3 แบบด้วยกัน

1.จัดฟันแบบดามอน (Damon Braces)

จัดฟันแบบดามอน (Damon Braces) การจัดฟันแบบนี้ฟันเข้าที่ได้เร็วกว่าการจัดฟันแบบโลหะและเซรามิก มักนิยมในกลุ่มคนที่อยากจัดฟันแต่ไม่ต้องการเจ็บปวดระคายเคืองจากเครื่องมือแบบเดิม ๆ ไม่มีเวลาไปพบทันตแพทย์บ่อย ๆ ไม่ต้องการถอนฟัน และคนที่มีกำลังทรัพย์พอสมควร

 

การจัดฟันแบบดามอน คือระบบการจัดฟันแบบใหม่ ที่ไม่ต้องใช้ยางรัดเพื่อยึดติดลวดกับเหล็กจัดฟัน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 แบบตามลักษณะของ Bracket ที่ต่างกัน คือ จัดฟันดามอนคิว Damon Q (Metal Self-ligating) ที่มีอุปกรณ์จัดฟันหรือ Bracket จะเป็นสีโลหะ และจัดฟันดามอนเคลียร์ Damon Clear (Clear Self-ligating) ที่อุปกรณ์จัดฟันจะมีสีขาวขุ่น หรือสีใส ใกล้เคียงกับสีฟัน การจัดฟันแบบดามอนจะถอดเครื่องมือได้เร็วกว่าแบบโลหะกับเซรามิก

2. การจัดฟันแบบเซรามิก (Ceramic Braces)

จัดฟันแบบเซรามิก (Ceramic Braces) สำหรับคนที่อยากจัดฟัน แต่ก็ไม่อยากให้คนเห็นอุปกรณ์จัดฟันเยอะเกินไปอาจเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์กับคุณ เครื่องมือการจัดฟันแบบเซรามิก (Ceramic Braces) นี้ จะใช้เครื่องมือที่มีสีขาวเหมือนกับสีฟัน ในส่วนของการทำงาน การจัดฟันเซรามิกจะมีความคล้ายคลึงกับแบบโลหะอยู่คือจัดฟันแบบอาศัยแรงยึดจากลวด ต่างกันตรงที่วัสดุจะทำจากเซรามิกใสค่ะ การติดเครื่องมือทั้งฟันบนและล่าง จะเริ่มติดเครื่องมือที่ขากรรไกรบนก่อน โดยจะติดวัสดุเซรามิกไว้ด้านหน้าผิวฟัน และเลือกใช้ยางสีใส (O-ring) รัดเข้ากับเครื่องมือจัดฟันนั่นเองค่ะ

3. การจัดฟันแบบโลหะ (Metal Bracket)

การจัดฟันแบบโลหะ (Metal Bracket) คือ การรักษาทางด้านทันตกรรมจัดฟันรูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยในเรื่องการเรียงตัวของฟันให้เป็นระเบียบ สวยงาม และเพื่อทำให้การสบฟันของฟันบนและล่างอยู่ในจุดที่ต้องการ นอกจากความสวยงาม และการเรียงตัวของฟันแล้ว การจัดฟันยังช่วยในเรื่องของคนที่มีปัญหาเรื่องรูปฟันต่างๆ เช่น ฟันห่าง ฟันเหยิน ฟันซ้อน หรือฟันเก ซึ่งได้รับความนิยมโดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ด้วยราคาที่ย่อมเยาว์ และมักจะเรียกว่า จัดฟันยางสี เพราะคนไข้สามารถเปลี่ยนสียางจัดฟันของเเต่ละเดือนได้ การจัดฟันประเภทนี้เป็นการจัดฟันที่มีเครื่องมือที่ทำมาจากวัสดุ โลหะ ยึดติดแน่นไว้ที่ด้านหน้าของผิวฟันแต่ละซี่ แล้วใส่ลวดผ่านร่องแบร็กเก็ต (Bracket) จากนั้นใช้ยางโอริง (O-ring ) รัดที่ตัวอุปกรณ์จัดฟันนี้ให้มันติดแน่นกับลวดจัดฟัน ซึ่งยางจะมีสีสันสดใสสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ การจัดฟันแบบนี้ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ทุก ๆ เดือน ไม่สามารถเปลี่ยนหรือถอดเครื่องมือเองได้

เครื่องมือจัดฟันมีอะไรบ้าง ? สามารถช่วยอะไรได้บ้าง ?

– ลวดจัดฟัน (Archwire) ทำหน้าที่ในการช่วยเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมทิศทาง และตำแหน่งของการเคลื่อนฟัน โดยฟันจะเคลื่อนที่ไปตามลวดจัดฟันผ่านทางแบร็กเก็ต (Bracket) มี 2 แบบ หรือ 2 ขนาดด้วยกัน คือ ลวดสแตนเลส (Stainless Steel) มีความแข็งแรง ไม่เป็นสนิม ไม่บิดงอได้ง่าย สามารถดัดขึ้นรูปได้และมีความฝืดต่ำ และลวดนิเกิ้ลไทเทเนียม (Nickle-titanium) ที่มีความนิ่ม โค้งงอได้และสามารถกลับคืนรูปได้เหมือนเดิม
– แบร็กเก็ต (Bracket) หรือเหล็กจัดฟัน ทำหน้าที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนของฟันให้การสบฟันและตำแหน่งของฟันเป็นไปตามความต้องการหลังการจัดฟัน ซึ่งจะมีช่องตรงกลางสำหรับใส่ลวด แบร็กเก็ต มีขอบสำหรับเกี่ยวยางจัดฟัน และบางตัวจะมีฮุค (Hook) ที่มีรูปร่างคล้ายตะขอไว้สำหรับเกี่ยวยางดึงฟันเพิ่มเติมได้
– ยางรัดฟัน (O-ring) ทำหน้าที่รัดลวดที่อยู่ในช่องตรงกลางของ แบร็กเก็ต (Bracket) เพื่อให้ลวดสามารถเคลื่อนฟันไปสู่ตำแหน่งที่ต้องการได้โดยยางรัดฟัน ตัวยางรัดฟันนั้นจะมีหลากหลายสี สามารถเลือกตามความต้องการของคนไข้ได้เลย
– เชนจัดฟัน (Chain, Power-Chains หรือ C-Chains) เครื่องมือนี้ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกคน เชนจัดฟันจะมีหน้าที่เคลื่อนฟันให้เข้าที่เรียงสวยงาม ช่วยปิดช่องว่างของฟันโดยเจ้าตัวนี้ไม่ได้ช่วยให้ฟันติดกันไวขึ้นแต่มีหน้าที่หลักแค่ปิดช่องว่างฟันเฉย ๆ มีมากมายหลายสีให้เลือกแต่การใช้เครื่องมือนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับแผนการรักษาของหมอด้วยว่าคนไข้ควรใส่ไหม
– ที่ยกฟัน (Bite) ทำหน้าที่ยกฟันให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถแก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติได้ เช่น ฟันสบคร่อม ฟันสบลึก อาจจะลำบากในการเคี้ยวอาหารช่วงแรก ๆ ซึ่งเครื่องมือจัดฟันนี้ไม่ได้ติดไปตลอดการจัดฟัน แต่จะขึ้นอยู่กับหมอว่าใช้ระยะเวลาเท่าไหร่
– บัทตอน (Button) ทำหน้าที่เป็นที่เกี่ยวยางให้บิดฟันไปในตำแหน่งที่ต้องการ ใช้ยึดติดบนตัวฟัน ลักษณะหน้าตาเหมือนกระดุม ซึ่งมีทั้งแบบที่ให้คนไข้เกี่ยวยางเองได้ และแบบที่ทันตแพทย์เป็นผู้เกี่ยวยางให้
– เพลทจัดฟัน (Plate) ในบางรายอาจจำเป็นต้องใส่เพลทจัดฟันเพื่อยกฟันให้ฟันบน และล่างห่างจากกัน หรือใส่ร่วมกับการใช้สกรูเพื่อขยายช่องว่างในบางตำแหน่ง
– ยางดึงฟัน (Elastic) เครื่องมือนี้มีหน้าที่เป็นตัวเกี่ยวรัดระหว่างฟัน โดยจะเกี่ยวกับตัวตะขอแบร็กเก็ต ให้อยู่กับที่เพื่อทำให้ฟันเรียงตัวตามตำแหน่งที่ทันตแพทย์วางแผนไว้โดยใครที่คิดจะจัดฟันก็จะต้องใส่ยางดึงไว้ตลอดเวลาหรือแล้วแต่คน โดยควรเปลี่ยนหนังยางทุก 12 – 24 ชั่วโมง
– หมุดจัดฟัน (Mini screws) หมุดจัดฟันจะทำหน้าที่เป็นหลักยึดในการเกี่ยวยางในกรณีที่หลักยึดไม่เพียงพอ ทำหลังจากการใส่ยาชาเฉพาะที่ ดังนั้นจึงคลายความกลัวไปได้ เพราะไม่เจ็บแน่นอน และจะช่วยให้การถอดเครื่องมือไวขึ้นด้วย ทันตแพทย์จะนำออกเมื่อจัดฟันเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ขั้นตอนการผ่าตัดขากรรไกร

ผู้ป่วยบางรายที่มีความผิดปกติของขากรรไกรที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการจัดฟันแบบทั่วไปเพียงอย่างเดียวได้ ทันตแพทย์จัดฟันซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมจะเป็นผู้ทำการวินิจฉัยจะแจ้งให้ทราบถึงทางเลือกในการรักษาต่าง ๆ ทันตแพทย์จะทำการวางแผนการรักษาให้เหมาะสมในแต่ละเคสการรักษาเป็นขั้นตอนดังนี้

– ปรึกษาทันตแพทย์ เมื่อตัดสินใจจัดฟันครั้งแรก ต้องปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันโดยตรง เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยปัญหาของแต่บุคคล ตรวจรูปหน้า โครงสร้างกระดูกขากรรไกรและฟัน พร้อมทั้งแจ้งประวัติ เช่น ประวัติการแพ้ยา มีโรคประจำ หรือยาที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบันว่ามีหรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ขณะเดียวกันในช่วงเวลานี้ ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดฟันในแต่ละวิธีการให้ทราบ เพื่อให้คนไข้ตัดสินใจว่าแบบไหนตรงความต้องการมากที่สุดนั้นเอง

– เมื่อคนไข้เลือกวิธีการจัดฟันที่เหมาะกับตนเองได้เเล้ว ทันตแพทย์จะแจ้งแผนการรักษาคร่าว ๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษา และทำการพิมพ์ปาก สร้างแบบจำลองฟัน

– คนไข้ต้องทำการพิมพ์ฟัน และ x-ray เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการวินิจฉัย ประเมินฟัน กระดูกขากรรไกรบนและล่าง ดูการสบของฟัน และออกแบบการจัดฟันเพื่อให้เข้ารูปสวยงาม และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

– เคลียร์ช่องปาก เพื่อเตรียมให้ช่องปากของเราพร้อมที่จะจัดฟัน โดยทันตแพทย์ต้องเช็คสุขภาพในช่องปากก่อนเริ่มการจัดฟัน เพราะถ้าได้ติดเครื่องมือจัดฟันไปแล้ว แล้วต้องทำการอุดฟัน หรือทำการรักษาฟันใด ๆ จะทำให้การรักษานั้นยุ่งยาก และช่วยให้การจัดฟันประสบผลสำเร็จได้ด้วยดี

– สำหรับคนไข้ที่ทีมทันตแพทย์ลงความเห็นว่า ควรได้รับการผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน (Surgery First ) เมื่อพร้อมที่จะผ่าตัด ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปาก เพื่อจำลองการผ่าตัดในแบบจำลองฟัน และทำเฝือกสบฟัน (Occlusal Splint) สำหรับใช้ในห้องผ่าตัด และหลังจากผ่าตัดเสร็จแล้วอาจจำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล 2 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้าน 2-4 สัปดาห์ จาก หลังจากนั้นเมื่อคนไข้หายดีแล้ว จึงเข้าสู่กระบวนการ การจัดฟัน เพื่อปรับการเรียงฟัน และการสบฟันให้สมบูรณ์ขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี

– สำหรับคนไข้ที่ทีมทันตแพทย์ลงความเห็นว่าควรได้รับการจัดฟันให้มีความเหมาะสมดีก่อนเข้ารับการผ่าตัดขากรรไกร คนไข้เข้ารับการจัดฟันก่อนผ่าตัด ใช้เวลาประมาณ 1 ปี เพื่อแก้ไขการซ้อนเกและปรับแนวแกนฟัน เนื่องจากโดยปกติ คนไข้ที่มีความผิดปกติของขากรรไกร จะมีการชดเชยของฟันโดยฟันจะล้มเอนตามธรรมชาติไปปิดบังความผิดปกติของขากรรไกร ดังนั้น เมื่อเข้ารับการจัดฟันก่อนผ่าตัดจะทำให้การสบฟันก่อนผ่าตัดโดยรวมทั้งใบหน้าดูแย่ลงเพียงชั่วคราว และเมื่อพร้อมที่จะผ่าตัด ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากอีกครั้ง

 

เพื่อจำลองการผ่าตัดในแบบจำลองฟัน และทำเฝือกสบฟัน(Occlusal Splint) สำหรับใช้ในห้องผ่าตัด และหลังจากผ่าตัดเสร็จแล้วอาจจำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล 2 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้าน 2-4 สัปดาห์ เมื่อคนไข้พักฟื้นหายดีแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการจัดฟันต่ออีกประมาณ 6 เดือน – 1 ปี เพื่อปรับการเรียงตัวและการสบฟันให้สมบูรณ์มากขึ้น

 

การจัดฟันหลังการผ่าตัดยังคงมีความจำเป็นในทุกกรณีเพื่อแก้ไขการสบฟันที่อาจยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ หรือเพื่อคงสภาพฟันหลังการผ่าตัด การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกรนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะต้องรอให้ผู้เข้ารับบริการมีฟันแท้ขึ้นมาจนครบเสียก่อน นอกจากในบางกรณีเท่านั้นที่มีความจำเป็นพิเศษ เช่น ศัลยแพทย์จึงจะทำการผ่าตัดให้ทันที กรณีอุบัติเหตุ และการผ่าตัดจัดแต่งขากรรไกรในผู้ใหญ่นั้น บางครั้งยังสามารถเป็นศัลยกรรมเพื่อความงามโดยทำร่วมกับการผ่าตัดเนื้อเยื่อบางส่วนเพื่อให้ได้รูปหน้าที่มีความสวยงามมากขึ้นได้อีกด้วย เมื่อผ่านขั้นตอนการจัดฟัน คุณหมอขอแนะนำให้คนไข้ศึกษาวิธีการดูแลหลังจัดฟัน

อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการรักษา

– โดยทั่วไปก่อนเข้ารับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกรนั้น คนไข้จะต้องทำการ จัดฟันมาก่อนเพื่อให้ฟันเรียงตัวสวยและสบฟันได้อย่างเหมาะสม ในส่วนของการผ่าตัดเมื่อทำการรักษาโดยทั่วไป การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร จะใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3-5 วัน ขึ้นกับจำนวนขากรรไกรที่ทำ หรือศัลยกรรมอื่น เช่น ผ่าตัดคาง ผ่าตัดลดโหนกแก้ม ผ่าตัดลดมุมกราม หลังการผ่าตัด ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล หลังการผ่าตัดจะทำให้เกิดการปวดและบวม ฟกช้ำบนใบหน้าได้ เป็นเรื่องปกติจากผลการผ่าตัด โดย เฉลี่ยจะรู้สึกปวด ช่วง 2-3 วันแรก สามารถควบคุมได้โดยรับประทานยาแก้ปวดที่ทันตแพทย์จ่ายให้ จากนั้นอาการก็จะค่อยๆ เบาลง รวมถึงในช่วงแรกๆ 1-2 วัน อาจรู้สึกเจ็บคอ เพราะระหว่างการผ่าตัด วิสัญญีแพทย์ จะสอดสายยาสลบผ่านทางคอของคนไข้ ทำให้คนไข้รู้สึกเจ็บคอ ซึ่งจะหายไปเองในเวลาเพียง 1-2 วันหลังการผ่าตัด คนไข้อาจเกิดอาการชาหลังการผ่าตัดได้นั้นเป็นสิ่งปกติเพราะ การผ่าตัดขากรรไกรบน สามารถทำให้ริมฝีปากบน แก้ม และปีกจมูกชาได้ การผ่าตัดขากรรไกรล่าง สามารถทำให้ริมฝีปากล่าง คาง หรือลิ้นชาได้ อาการชาจะค่อยๆ ดีขึ้น หลังผ่าตัดอาจต้องห้ามเคี้ยวอาหาร 2-3 เดือน เพราะต้องรอให้กระดูกที่ทำการผ่าตัดหายได้ดีในระดับนึงก่อน รวมถึงหลีกเลี่ยง กิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ เช่น การออกกำลังกาย ภายใน 1 เดือนแรก

การดูแลรักษาหลังจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

จัดฟันผ่าขากรรไกร ก็เหมือนการผ่าตัดอื่นๆ ที่อาจมีผลข้างเคียงและผลแทรกซ้อนเกิดขึ้น ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องดูแลตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังนี้

– รับประทานยาตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด ห้ามหยุดยา เพิ่มหรือลด ขนาดยาเองโดยเด็ดขาด

– ทันตแพทย์อาจใช้ยางยึดขากรรไกรบนและล่างไว้ด้วยกัน ในกรณีที่กัดฟันไม่ลงหรือฟันไม่สบกันประมาณ 2-4 สัปดาห์ ระหว่างนี้ให้คนไข้รับประทานอาหารเหลวผ่านทางกระบอกฉีดยา ประมาณ 2-4 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะเอายางออกให้ คนไข้สามารถเคลื่อนไหวขากรรไกรบนและล่างได้

– ควรรักษาความสะอาดในช่องปากอยู่เสมอ เพื่อลดผลแทรกซ้อนการติดเชื้อ ควรบ้วนปากและเริ่มแปรงฟันหลังผ่าตัดวันที่ 2 และแปรงฟันอย่างระมัดระวัง

– การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถทำได้ตามปกติ แต่ใน 1-2 สัปดาห์แรก ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย และกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้แรงหนัก เช่น ยกของ วิ่ง

– หลังสัปดาห์ที่ 2 สามารถออกกำลังกายเบาๆ เข่น เดิน เหยียดกล้ามเนื้อได้ – หลังสัปดาห์ที่ 12 สามารถออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิควิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องปะทะกัน

– ควรรับประทานอาหารเหลวในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกของการผ่าตัด เพื่อเป็นการรักษาความสะอาดของบาดแผลในช่องปาก

– หลีกเลี่ยงการล้วงเข้าไปในช่องปาก ห้ามเขี่ยแผลเล่น เพราะจะทำให้แผลหายช้าและเกิดการติดเชื้อ

– ควรประคบเพื่อลดอาการบวม ประมาณ 3-5 วันแรกตลอดเวลาหลังผ่าตัด หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นประคบร้อน/อุ่น ต่อเนื่องอีก 3 วัน หรือตามคำแนะนำของทันตแพทย์ เพื่อลดอาการบวม

– การนอนหลับ ควรนอนยกศีรษะสูง 30 องศา ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อช่วยในการลดบวม

จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรเจ็บหรือไม่ ?

ความอดทนต่อความเจ็บปวดของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน ดังนั้นบางรายบอกว่าเจ็บมาก เจ็บน้อยแตกต่างกันออก ไป แต่เนื่องจากการรักษาเป็นการผ่าตัด จึงไม่อาจหลักเลี่ยงต่ออาการเจ็บ ปวด บวม ไปได้ แต่อย่างไรก็ตามระหว่างทำการผ่าตัด แพทย์จะมีการให้ยาระงับปวดระหว่างทำการผ่าตัด และให้ยาแก้ปวดผ่านทางสายน้ำ เกลือหรือฉีดเข้าแขนคนไข้เพื่อระงับการปวดหลังผ่าตัด เมื่อกลับบ้านก็จะมีการจ่ายยาแก้ปวดให้หลังการรักษา และยาปฏิชีวนะให้หลังการรักษา เมื่อคนไข้รู้สึกปวดจึงสามารถรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดได้

 

การศัลยกรรมกระดูกขากรรไกรบนใบหน้า โดยมีการร่วมกับการจัดฟัน หรือ การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน ซึ่งในการผ่าตัดขากรรไกรนั้น อาจจะผ่าขากรรไกรเดียวหรือ สองขากรรไกรก็ได้ ขึ้นกลับลักษณะความผิดปกติของขากรรไกร โดย ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการจะทำการขยับเคลื่อนกระดูกขากรรไกรตามแผนการรักษา

 

ปัจจุบัน จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ค่อนข้างได้รับความสนใจอย่างมาก เพราะสามารถเสริมสร้างความสวยงามให้กับใบหน้าได้ และช่วยแก้ไขปัญหาการสบฟันที่ผิดปกติ ดังนั้นก่อนตัดสินใจเข้ารับการรักษาควร ศึกษาข้อมูลและวางแผนการดูแลตัวเองร่วมด้วย เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ต้องการ และเพื่อความ ปลอดภัย ควรเข้ารับการรักษาจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจริง ๆ

 

หากคุณกำลังหาคลินิกทำฟันจัดฟัน ศูนย์ทันตกรรม Double Smile Dental Clinic ให้บริการจัดฟันด้วยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ให้การรักษาจัดฟัน พร้อมอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานทำให้ผลลัพธ์การรักษามีประสิทธิภาพที่ดี การจัดฟันเป็นการรักษาทางทันตกรรมชนิดหนึ่งไม่ใช่แค่แฟชั่น ดังนั้นควรเป็นทันตแพทย์จัดฟันและเครื่องมือที่มีคุณภาพเท่านั้น ที่จะช่วยดูแลรักษาฟันของคุณให้มีความปลอดภัย เพิ่มเสน่ห์รอยยิ้มให้สวยด้วยการดูแลฟันที่ดี Double Smile Dental Clinic ยินดีให้บริการ

ติดต่อสอบถาม

Facebook : Double Smile Dental Clinic คลินิกทันตกรรมดับเบิลสไมล์ ทำฟัน จัดฟัน
Instagram :doublesmiledentalclinic
Youtube : Double Smile Dental Clinic
Tik tok : @doublesmile.dentalclinic
Website : doublesmiledentalclinic.com
Line official : @dsdc
Tel : 087-650-9999 หรือ 065-147-6999

เปิดให้บริการ ทุกวัน 10.00 – 20.00 น.
คลินิกทันตกรรมดับเบิลสไมล์ (ใน Caltex station รามอินทรา กม. ที่ 14 เยื้อง รร.เศรษฐบุตรบำเพ็ญ)

72/5 ถ.รามอินทรา แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม 10510