Work Hours : เปิดบริการทุกวัน : 10:00 - 20:00 น.

Before & After

บริการทันตกรรมรากเทียม
(IMPLANTS)

ตรวจสอบบริการของเรา เพื่อให้ได้รับบริการตามจุดประสงค์ของคุณ เราพร้อมให้รอยยิ้มของคุณมั่นใจขึ้นเป็น 2 เท่า

บริการทันตกรรมรากเทียม

ทันตกรรมรากเทียม  เป็นเทคโนโลยีการทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยใช้วัสดุแข็งแรงมาเป็นรากฟันเทียมทดแทนรากฟันธรรมชาติ ปัจจุบันนิยมใช้รากฟันเทียมที่มีทั้งรากและตัวฟันเนื่องจากมีลักษณะเปรียบเสมือนฟันธรรมชาติใช้งานได้เหมือนจริง และช่วยป้องกันกระดูกขากรรไกรละลาย ในการปลูกรากฟันเทียมนั้น ใช้สำหรับฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรเพื่อช่วยในการทำฟันเทียมแบบติดแน่น และแบบถอดได้ ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีการใส่ฟันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

รากเทียม (Implants)

เป็นวิธีหนึ่งในการทดแทนฟันที่สูญเสียไป จัดอยู่ในประเภทฟันปลอมติดแน่นที่ยึดอยู่ใน ช่องปาก โดยการฝังรากเทียม ซึ่งรากเทียมจะทำจากวัสดุที่ทำให้ร่างกายยอมรับได้ดี ประเภท Titanium ฝังลงไปในกระดูกขากรรไกร
มีส่วนประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้

  1. รากเทียม (Fixture) ซึ่งทำมาจากโลหะไทเทเนียม (Titanium) ซึ่งมีลักษณะ คล้ายรากฟันและจะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร ซึ่งสามารถยึดติดได้อย่างแนบแน่น โดยไม่ทำให้เนื้อเยื่ออักเสบ และไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ
  2. เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment) เมื่อฝังรากเทียมบนกระดูกขากรรไกร จะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือนเพื่อให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดี หลังจากนั้น จึงจะใส่เดือยรองรับครอบฟันลงบนรากเทียม เพื่อใช้เป็นที่รองรับ ครอบฟันต่อไป
  3. ครอบฟัน (crown) เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของเหงือก ซึ่งจะทำมาจากเซรามิค (porcelain) มีรูปร่างลักษณะและสีเหมือนฟันธรรมชาติ
  • ก่อนจะเข้ารับการรักษาด้วยรากฟันเทียม คุณต้องได้รับการตรวจและประเมินโดยละเอียดจากทันตแพทย์เฉพาะทาง หรือทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาในภายหลัง อีกทั้งทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังสามารถเลือกรากเทียมที่เหมาะสมกับคนไข้ มีความเข้าใจในขั้นตอนของการทำทันตกรรมประดิษฐ์
  • ในกรณีที่คนไข้มีโรคประจำตัว มียาที่ต้องรับประทานเป็นประจำ มีประวัติการแพ้ยา ต้องแจ้งท้นตแพทย์ก่อนทำการผ่าตัด
  • กรณีที่มีประวัติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หรือเปลี่ยนข้อเทียม อาจจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ ก่อนการรักษาในบางกรณี จึงควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบล่วงหน้า
  • วางแผนการรักษาร่วมกับทันตแพทย์ทั้งเรื่องชนิดของรากฟันเทียม หรือฟันเทียมที่เลือกใช้ในแผนการรักษา เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ


การเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม ( Immediate Loaded Implant )

การเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม เช่น การทำครอบฟันแบบชั่วคราวหรือแบบถาวร หลังจากฝังรากเทียมที่บริเวณกระดูกขากรรไกรเเล้ว อุปกรณ์ฟันปลอมแบบใส่ได้ทันทีจะเหมาะกับคนไข้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรดี

การฝังรากเทียมแบบทันที ( Immediate Implant )

การฝังรากเทียมแบบทันที ใช้ระยะเวลาในการปลูกถ่ายเพียงแค่หนึ่งวัน เป็นการใส่รากฟันเทียมในเวลาเดียวกันหลังจากถอนฟัน ข้อดีของการปลูกถ่ายแบบทันที คือลดขั้นตอนและระยะเวลาการรักษาลง ทำให้การละลายของกระดูก และโอกาสการเกิดเหงือกร่นลดลงด้วย
โดยทั่วไปการปลูกถ่ายแบบทันทีนี้จะเหมาะสำหรับคนไข้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรที่สมบูรณ์ดี ตำแหน่งฟันที่เหมาะสำหรับวิธีการนี้คือ ฟันหน้า หรือฟันกรามน้อย ต้องไม่มีพยาธิสภาพที่ปลายรากฟันที่จะถอน และจำเป็นต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอให้รากฟันเทียมยึดด้วย


การฝังรากเทียมแบบธรรมดา ( Conventional implant )

การฝังรากเทียมแบบธรรมดา ใช้ได้ในคนไข้ที่ทำรากฟันซี่เดียวเเละหลายซี่ ในการฟื้นฟูรากฟันแบบถาวรนี้ มีขั้นตอนการรักษา 2 ช่วง คือ เมื่อทันตแพทย์ฝังรากเทียมเเล้วต้องรอให้กระดูกยึดกับรากเทียมก่อนใช้เวลาราวๆ 3 เดือน หลังจากนั้นจึงจะติดฟันปลอมเข้ากับรากเทียมได้

วิธีการปลูกถ่ายแบบธรรมดานี้ถือว่ามีข้อจำกัดในการรักษาน้อย สามารถรักษาได้ครอบคลุมทุกสภาพกระดูก เเต่กรณีที่มีการสูญเสียกระดูกระดับปานกลางจนถึงขั้นรุนแรงในบริเวณที่จะต้องฝังรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะเเนะนำให้ปลูกกระดูกก่อน

รากฟันเทียมเหมาะสำหรับใคร

  • ผู้ที่สูญเสียฟันแท้จากอุบัติเหตุ
  • ผู้ที่มีฟันแตก หัก ซึ่งควรได้รับการถอนฟันจากทันตแพทย์ และทำรากฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันที่เสียไป
  • เหงือกบริเวณที่จะทำการปลูกรากฟันเทียม ไม่มีการอักเสบหรือติดเชื้อ ซึ่งอาจส่งผลให้การปลูกรากฟันเทียมล้มเหลวได้
  • ผู้ที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
  • ผู้ที่ต้องการใส่ฟันเพียงซี่เดียว โดยฟันข้างเคียงยังอยู่ในสภาพดี
  • ผู้ที่ใส่ฟันปลอมทั้งปากแต่ประสบกับปัญหากระดูกขากรรไกรล่างยุบตัวลงมาก ทำให้ฟันปลอมหลุดได้ง่าย ซึ่งการฝังรากฟันเทียมจะช่วยยึดฟันปลอมให้แน่นขึ้น
  • ผู้ที่ไม่ต้องการกรอฟันในการทำสะพานฟันติดแน่น
  • ผู้ที่ไม่ชอบใส่ฟันปลอมแบบถอดได้

รากฟันเทียมมีขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อทดแทนฟันหนึ่งซี่ฟันหรือหลายซี่ที่หายไป มีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

  1. ทันตแพทย์จะตรวจสภาพช่องปากอย่างละเอียด
    ด้วยการ X-ray แบบพาโนรามา เเละ CT Scan เพื่อประเมินความหนาของกระดูกขากรรไกรและเนื้อเยื่อบนสันเหงือก อาจทำการพิมพ์ปากเพื่อวางแผนการรักษา และกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมของรากฟันเทียม
  2. การเตรียมพื้นที่สำหรับการฝังรากเทียม
    การฝังรากฟันนั้นทันตแพทย์จะตรวจสอบสภาวะกระดูกเเละการติดเชื้อ เพื่อเตรียมพื้นที่ให้เหมาะการฝังรากฟัน ถ้ามีการติดเชื้อต้องทำการรักษาก่อน อาจใช้เวลาตั้งเเต่ 2-3 สัปดาห์ – 2 เดือน

    ถ้ามีสภาวะที่โครงสร้างกระดูกไม่เพียงพอกับการทำรากฟันเทียม อาจจะต้องปลูกถ่ายกระดูกเพิ่มก่อน เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ
  3. การวางรากเทียม
    เทันตแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ จากนั้นทำการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร เย็บปิดแผล ประมาณ 7-14 วันจะตัดไหมที่เย็บออก รออีก 3-4 เดือนเพื่อให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรอย่างสมบูรณ์
  4. ระยะฟื้นฟูหลังผ่าตัดฝังรากเทียมเสร็จ
    รากฟันเทียมจะผสานกับกระดูกขากรรไกร หากใส่รากฟันเทียมแบบทันที (Immediate Implant) สามารถดำเนินการรักษาตามขั้นตอนที่ 5 ต่อได้ กรณีที่ไม่ได้ใส่รากฟันเทียมแบบทันที ต้องรอให้รากฟันเทียมเชื่อมต่อกับกระดูกประมาณ 2 ถึง 6 เดือน ก่อนที่จะทำขั้นตอนที่ 5
    หลังจากเย็บแผล 7 – 10 วัน ทันตแพทย์จะนัดเพื่อทำการตัดไหม

วิธีดูเเลฟันหลังทำ รากฟันเทียม

ช่วงหลังจากฝังรากเทียมใหม่ๆ ควรปฏิบัติตัวดังนี้

  1. รับประทานเฉพาะอาหารเหลวก่อนในช่วงวันแรก เพื่อหลีกเลี่ยงเศษอาหารปนเปื้อนแผล สามารถรับประทานอาหารกึ่งเหลว หรืออาหารบดในช่วงวันที่ต่อๆมาได้
  2. หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารแข็งหรือเหนียวเกินไป ช่วง 1-2 เดือน เพื่อป้องกันแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นกับรากเทียมที่เพิ่งฝังเข้าไป
  3. หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นมากในวันแรกหลังการผ่าตัด
  4. อาการบวมหลังผ่าตัดถือเรื่องเป็นเรื่องปกติ สามารถรับประทานยาที่ได้รับอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอาการอักเสบ
  5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  6. คนไข้สามารถดูเเลรักษาความสะอาดของฟันได้ตามปกติ เหมือนฟันธรรมชาติ แปรงฟันให้ถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟันกำจัดเศษอาหารตามซอกฟัน
  7. แนะนำให้ใช้น้ำยาบ้วนปากล้างน้ำยาฆ่าเชื้อ ตามที่คุณหมอสั่ง
  8. พบทันตแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างสม่ำเสมอ
  9. หากมีพฤติกรรมขบเคี้ยวฟัน หรือนอนกัดฟัน ควรพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขภาวะดังกล่าว

บริการของเรา